วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Kintsugi : The-art-of-broken-pieces


กิจกรรมจิตศึกษา 
เรื่อง  Kintsugi : The-art-of-broken-pieces





ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมอง/สมาธิให้ร่ายกายและสมองผ่อนคลาย ก่อนเริ่มกิจกรรม

ขั้นดำเนินกิจกรรม :
 1. ครูอาจจะให้นักเรียนจับคู่กันเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบใกล้ชิดมากขึ้น เรียนรู้การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)
 2 .ครูเปิดเวบไซต์  เรื่องราวเกี่ยวกับงานศิลปะที่เรียกว่า  Kintsugi  (คุณครูอาจจะเปิดคลิปไปด้วยแล้วเล่าเรื่องราว ของงานศิลปะนี้ แต่คุณครูอย่าเพิ่งสรุปให้นักเรียนฟังนะคะ)





3. ครูพูดคุยกับนักเรียนต่อ หลังจาก คลิปจบ.... เราเห็นอะไรในคลิปนี้บ้าง เรารู้สึกและคิดอย่างไรกับคลิปนี้  เราคิดว่าเราจะนำแนวคิดของเรื่องนี้ไปใช้กับตัวเราได้อย่างไรบ้าง ให้นักเรียนเขียนบันทึก หลังจากนั้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้สึกกับเพื่อนของเรา เปลี่ยนกันเป็นผู้พูดและผู้ฟัง

เมื่อจบกิจกรรม ครู Empower นักเรียน โดยให้ดูคลิป

Lessons From a Broken Japanese Bowl - ปรัชญาจากชามญี่ปุ่น




หลังจากคลิปจบ ครูกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน


แหล่งข้อมูลให้คุณครูศึกษาเรื่องราว Kintsugi เพิ่มเติม :

https://magazine.orami.co.th/G3-lifestyle-travel-japan-culture-art-kintsugi/

http://www.thisiscolossal.com/2014/05/kintsugi-the-art-of-broken-pieces/






วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ฝึกหายใจ ยืดเหยียดร่างกาย

กิจกรรมจิตศึกษา
ฝึกหายใจ ที่ให้ประโยชน์ และ ยืดเหยียดร่างกาย


คุณครูอาจนำด้วย ท่าโยคะ พื้นฐาน หรือ...

สมาธิบำบัด SKT เกิดจากการคิดค้นของ รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ที่นำหลักประสาทวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกับการปฏิบัติสมาธิ เกิดเป็นสมาธิเพื่อการบำบัดในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “สมาธิบำบัด SKT”

SKT ท่าที่ 1-2 เป็นท่าที่ทำได้ทันที ฝึกทั้งสมาธิและผ่อนคลายความตึงของ คอ บ่า ไหล่




https://www.facebook.com/mahidolchannel/?ref=page_internal

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

The Buddha And The Beggar

กิจกรรมจิตศึกษา เรื่อง 
The Buddha And The Beggar



ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม อาจใช้ กิจกรรม นั่งสงบ มีสติ รับรู้ลมหายใจ-เข้า ออก ของตนเองประมาณ 2-3 นาที / หรืออาจจะใช้ กิจกรรม Brain Gym

2.ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับ...เรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง นักเรียนเคยได้ยินหรือได้ฟังมาก่อนหรือไม่ เรื่องเล่านี้ ชื่อเรื่อง The Buddha And The Beggar (เนื่องจากเรื่องเล่าเป็นภาษาอังกฤษ คุณครูอาจจะถอดบทความเป็นภาษาไทย เล่าให้นักเรียนได้ฟัง หรือ อาจจะเปิดเป็นคลิปก็ได้เนื่องจากมีแปลไทยเป็น Subtitle..... แต่อย่าเพิ่งเปิดในส่วนของสรุปข้อคิดให้นักเรียนได้ฟัง ให้หยุดคลิปและถามคำถามเพื่อให้นักเรียนได้คิดหาคำตอบเองก่อน)


3. นักเรียนเขียนบันทึก/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  :  ฟังเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร  เราประทับใจตอนไหนของเรื่องนี้ เราได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องนี้บ้าง เราเคยมีประสบการณ์ที่เกิดผลคล้ายกับเรื่องนี้หรือไม่ เรื่องราวเป็นอย่างไรบ้าง

เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน  ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน

ครูอาจจะฝากบทกลอนนี้ ให้นักเรียนในห้องได้อ่านพร้อมกัน ก่อนจบกิจกรรมจิตศึกษา


วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ภูเขาที่พ่อแม่ถูกทิ้ง

กิจกรรมจิตศึกษา เรื่อง 
"อุบะสุเทะ" ภูเขาที่พ่อแม่ถูกทิ้ง







ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม กิจกรรม นั่งสงบ มีสติ รับรู้ลมหายใจ-เข้า ออก ของตนเองประมาณ 2-3 นาที
2.ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับ...ตำนานของประเทศญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่อง อุบะสุเทะ  นักเรียนเคยได้ยินได้ฟังนิทานเรื่องนี้หรือไม่ เราจะให้ตัวแทนของเพื่อนเราเล่าเรื่องนี้ให้พวกเราฟังกันค่ะ ในขณะที่เพื่อนของเราเล่า สมาชิกที่เหลือจะตั้งใจฟังจนจบค่ะ


ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที :

1. เพื่อนคนหนึ่งในห้องเล่า ตำนานเรื่อง ภูเขาที่พ่อแม่ถูกทิ้ง

2. ร้องเพลงร่วมกัน  หนึ่งเดียวคือแม่ 



3. นักเรียนเขียนบันทึก/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  :  ฟังเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร  เราคิดว่า ถ้าเราเป็นลูกที่เกิดในสมัยนั้นเราจะทำอย่างไร    เราเคยแสดงพฤติกรรมไม่ดีกับแม่ของเราอย่างไรบ้างที่เรารู้สึกว่าท่านเสียใจ ทำไมตอนนั้นเราจึงตัดสินใจแสดงพฤติกรรมแบบนั้นออกไป     เราคิดว่า เรายังมีบางสิ่งบางอย่างที่อยากจะแสดงออกกับแม่ของเรา  มีคำพูดบางคำที่เราอยากบอกท่าน แต่เรายังไม่ได้ทำ เรายังไม่ได้พูด หรือไม่    เราอยากทำอะไรให้แม่ของเราบ้าง เพราะเหตุใด

เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน  ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน


------------------------------------------------------------


อุบะสุเทะ ภูเขาที่พ่อแม่ถูกทิ้ง

       ในสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1867) ประเทศญี่ปุ่นมีการปกครองด้วยระบบขุนนาง มีเจ้าเมืองและซามูไรที่มีอำนาจลดหลั่นกันไป ประชาชนทุกคนต้องเชื่อฟังคำสั่งของเจ้าเมืองแบบไม่มีเงื่อนไข
ช่วงที่ญี่ปุ่นถูกภัยแล้งคุกคามนานหลายปี เจ้าเมืองได้ออกกฏหมายขึ้นมาข้อหนึ่งว่า หากครอบครัวไหนมีพ่อแม่ที่อายุเกิน70ปี ลูกต้องนำพ่อแม่ไปทิ้งบนเขา มิฉะนั้นจะถูกประหาร เพราะถือว่าคนสูงวัยถึงเพียงนั้นเป็นคนที่ไร้ประโยชน์ ยิ่งอยู่นานยิ่งเป็นภาระ   ในทางตรงกันข้าม การตายเพื่อให้ลูกหลานได้อยู่ต่อนับเป็นการตายที่มีเกียรติสูงยิ่ง  ภูเขาสูงหลายแห่งจึงกลายเป็นหลุมฝังศพคนแก่ ขึ้นไปสองคน แต่กลับลงมาหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปอย่างนี้เรื่อยมา
     ชาวญี่ปุ่นเรียกภูเขาเหล่านี้ว่า "อุบะสุเทะ" ("อุบะ" แปลว่า คนแก่ "สุเทะ" แปลว่า ทิ้ง)
   ...และแล้วก็ถึงวันที่แม่ของ"เขา"อายุครบ70ปี เช้าวันนั้นเขาจัดเตรียมข้าวเป็นเสบียง เตรียมสานตระกร้าสำหรับใส่แม่   เมื่อทุกอย่างพร้อมก็อุ้มแม่วางลงในตระกร้า แบกขึ้นหลังและออกเดินทางไปยังภูเขา ในขณะที่ชายหนุ่มกำลังจดจ่อกับการปีนเขาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แม่ผู้ชราก็สังเกตเห็นว่าท้องฟ้ากำลังมืดลงทุกทีๆ   นางเกิดความกลัวขึ้นมาว่าถ้าฟ้ามืดลูกชายอาจหลงทางอยู่บนเขาก็ได้ นางจึงเอื้อมมือไปหักกิ่งไม้ กิ่งแล้วกิ่งเล่าเพื่อที่ว่าหลังจากทิ้งนางไว้บนภูเขาแล้ว ลูกชายจะสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
เมื่อถึงเวลาที่แม่ลูกต้องจากกัน นางได้บอกลูกชายว่า "ลูกแม่ ตอนที่เราขึ้นมาบนเขา แม่ได้หักกิ่งไม้ไว้ตลอดทาง ตอนลงจากเขาเจ้าจงสังเกตรอยไม้ที่แม่หักไว้ ก็จะถึงบ้านโดยปลอดภัย"
     เมื่อลูกชายได้ยินดังนั้น ทันใดสายตาก็มองเห็นมือที่เต็มไปด้วยรอยขีดข่วนของแม่ เขาอดหลั่งน้ำตาออกมามิได้ และตัดสินใจว่าจะไม่ยอมทิ้งแม่ไว้บนภูเขาเด็ดขาด เขาอุ้มแม่วางลงในตระกร้า แบกขึ้นหลังพาลงภูเขา และซ่อนแม่ไว้ในยุ้งฉางเพื่อหลบสายตาจากคนภายนอก
     ไม่นานหลังจากนั้น เจ้าเมืองก็ประกาศคำปริศนาไว้สองข้อ และบอกว่าหากใครแก้ปริศนาเหล่านี้ได้
ก็จะให้คนผู้นั้นสมปรารถนาหนึ่งประการ ปริศนาข้อแรกคือ ให้ฟั่นเชือกขึ้นมาจากขี้เถ้า และสองคือให้ร้อยเส้นไหมลอดผ่านเปลือกหอยสังข์
     เวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ก็ยังไม่มีใครแก้ปริศนาได้ ลูกชายจึงนำเรื่องนี้ไปเล่าให้แม่ฟัง เมื่อเล่าจบแม่ก็ยิ้มแล้วสอนว่า
     "ลูกแม่ เจ้าจงทำตามที่แม่บอกต่อไปนี้ สำหรับปริศนาข้อแรกให้เจ้าฟั่นเชือกขึ้นมาแล้วนำไปเผาให้ไหม้เป็นถ่าน ขี้เถ้าจะคงรูปเหมือนเชือกอยู่อย่างนั้น ส่วนปริศนาข้อที่สอง ให้ผูกเส้นไหมกับขามดแล้วจับมดไปใส่ในเปลือกหอย หลังจากนั้นให้โรยน้ำตาลและจุดเทียนอีกด้านหนึ่งของเปลือกหอย เมื่อมดได้กลิ่นน้ำตาลและเห็นแสงเทียนก็จะพยายามเดินออกไปอีกด้าน"
     ภายหลังเมื่อเจ้าเมืองรู้ว่าคนที่แก้ปริศนาได้ แท้จริงแล้วคือหญิงชราธรรมดาๆ คนหนึ่ง จึงเกิดความเลื่อมใสในภูมิปัญญาของคนชราและตัดสินใจยกเลิกกฎให้ทิ้งพ่อแม่ตั้งแต่นั้น แม่กับลูกชายจึงใช้ชีวิตต่อมาอย่างมีความสุข