วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Hidden Messages in Water


กิจกรรมจิตศึกษา เรื่อง

Hidden Messages in Water

ขั้นนำ :

นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมอง  หรือ กิจกรรมให้เกิดความสงบมีสมาธิ ให้ร่างกายและสมองผ่อนคลาย ก่อนเริ่มกิจกรรม


ขั้นดำเนินกิจกรรม :
 1. ครูอาจจะแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบใกล้ชิดมากขึ้นกว่าวงกลมใหญ่
 2 .ครูพูดคุยกับนักเรียน...เราพอจะนึกออกไหม มีคำพูดและการกระทำใดที่เราเคยพูดและแสดงออกกับตัวเองเพื่อให้เรารู้สึกดีและมีความสุขขึ้นเมื่อเราไม่สบายใจ  มีคำพูดใดที่คนที่หวังดีและรักเรา พูดกับเราแล้วทำให้เรามีกำลังใจและมีความสุข     และตรงกันข้าม...มีคำพูดแบบใดบ้างที่เราทำให้เรารู้สึกไม่ดี  รู้สึกหดหู่ใจ  หรือมีคำพูดใดและการกระทำใดบ้างที่เราเคยได้พูดและแสดงออกกับคนในครอบครัว  พูดกับเพื่อนหรือคนรอบข้าง แล้วทำให้เขารู้สึกแย่ ทำให้เขาเสียใจ...  ให้ทุกคนลองนึกคำตอบในใจ และก่อนที่เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้ ครูอยากให้พวกเราฟังและดูเรื่องราวนี้กันค่ะ

ครูอาจจะเล่าแล้วแสดงภาพตัวอย่างไปพร้อมๆกับการเล่า (จากแหล่งอ้างอิงด้านล่าง) หรือ...

ครูจะเปิดคลิป.......(คลิปจนถึงนาทีที่ 4.00 หลังจากนั้นให้หยุดคลิปก่อนเพื่อให้นักเรียนได้สรุปเป็นแนวคิดของตนเอง    หลังจากจบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วก็อาจจะเปิดต่อเพื่อเป็นการสรุปแนวคิดที่ได้)

Hidden Messages in Water



3. ครูพูดคุยกับนักเรียนต่อ หลังจาก ครูเล่าเรื่อง หรือ คลิปจบ.... เราเห็นอะไรในคลิปนี้บ้าง เรารู้สึกและคิดอย่างไรกับคลิปนี้ และทุกคำตอบให้บอกเหตุผลว่า ทำไมเราจึงคิดแบบนั้นนอกจากคำพูดที่จะมีผลต่อความรูู้สึกของเราและคนรอบข้างแล้ว ยังมีสิ่งอื่นอีกไหมที่จะมีผลต่อความคิดและความรู้สึกของเรา  หลังจากที่ทุกคนตอบคำถามของตัวเองเรียบร้อยแล้ว แล้วเราจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆของเรากันค่ะ

เมื่อจบกิจกรรม ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน

-----------------------------------------------------------------

Hidden Messages in Water




ดร. มาซารุ อิโมโต เป็นแพทย์แผนใหม่ชาวญี่ปุ่นทีได้ทำการวิจัยศีกษาเกี่ยวกับผลีกของน้ำ ได้ค้นพบว่าจิตของมนุษย์และสภาพแวดล้อมรอบตัวนั้นมีผลต่อการก่อตัวของผลึกน้ำและได้เขียนหนังสือจากงานวิจัยของเขาชื่อ Hidden Messages in Water และได้ตีพิมพ์ขายทั่วโลกได้มากกว่า สี่แสนเล่ม เขาได้ทำการพิสูจน์แล้วว่าความคิดและความรู้สีกของมนุษย์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงโลกในสามมิติได้



เขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงความไว้สูงถ่ายภาพในอุณหภูมิต่ำ ในช่วงที่ผลีกน้ำพึ่งก่อตัวใหม่ๆ ซี่งน้ำที่อยู่ในสภาพต่างกันจะก่อตัวเป็นผลึกไม่เหมือนกัน เขาได้พบว่าถ้าตัวอย่างน้ำที่เก็บมาจากสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน เพี่อทำให้เย็นจะก่อตัวเป็นผลีกรูปร่างไม่เหมือนกัน โดยน้ำที่มาจากสถานที่ตามธรรมชาติจะก่อตัวเป็นผลีกที่สวยงามกว่าน้ำที่เก็บตัวอย่างใกล้ๆกับโรงงานอุตสาหกรรม ซี่งน้ำจากพี้นที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษนั้นจะไม่ก่อตัวเป็นผลีกเลย



เสียงเพลงก็ยังมีอิทธิพลต่อผลีกของน้ำเช่นกัน เพลงทีมีความไพเราะก็จะก่อผลีกเป็นรูปร่างสวยงามไม่เหมือนกัน  นอกจากนั้นแล้วเขาได้ทำการเปรียบเทียบผลีกของน้ำที่ก่อตัวโดยไม่ได้รับการอวยพร เทียบกับน้ำที่ได้รับการอวยพร พบว่า น้ำที่ได้รับการอวยพรนั้นจะมีผลีกสวยงาม เมื่อเทียบกับน้ำที่ไม่ได้รับการอวยพร โดยที่น้ำที่ไม่ได้รับการอวยพรไม่ก่อตัวเป็นผลึก



สุดท้ายถ้าตัวอักษรหรือคำพูดปิดไว้ที่ภาชนะใส่น้ำแล้วทำให้ก่อตัวเป็นผลีกขี้นของน้ำก็จะได้ผลีกรูปร่างที่ต่างกันออกไป โดยข้อความที่มีความไพเราะจะช่วยให้น้ำมีผลีกที่สวยงามมากกว่าข้อความที่เต็มไปด้วยความรุนแรง



วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

It's the little obstacle for us

กิจกรรมจิตศึกษา 
เรื่อง  It's the little obstacle for us


ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมอง/สมาธิให้ร่ายกายและสมองผ่อนคลาย ก่อนเริ่มกิจกรรม

ขั้นดำเนินกิจกรรม :
 1. ครูอาจจะแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบใกล้ชิดมากขึ้นกว่าวงกลมใหญ่
 2 .ครูพูดคุยกับนักเรียน...เคยมีครั้งไหนบ้างที่เรารู้สึกไม่อยากมาโรงเรียน  ทำไมเราจึงรู้สึกแบบนั้น  ทุกวันนี้เรามาโรงเรียนด้วยวิธีใด   เรารู้สึกลำบากไหม นั่นเป็นเพราะ ระยะทาง?  ยานพาหนะ? หรือ ใจของเรา?   ก่อนที่เราจะตอบคำถามกัน ครูอยากให้เราดูคลิปนี้ กันค่ะ (ครูเปิดให้ดูประมาณ 8 นาทีแรกนะคะ เพราะคลิปนี้มีหลายเรื่องค่ะ)





3. ครูพูดคุยกับนักเรียนต่อ หลังจาก คลิปจบ.... เราเห็นอะไรในคลิปนี้บ้าง เรารู้สึกและคิดอย่างไรกับคลิปนี้  ถ้าเราเป็นนักเรียนในคลิปนั้น เราจะทำอย่างไร   แล้วคิดว่าตอนนี้ที่เราเป็นอยู่เราคิดอย่างไร และทุกคำตอบให้บอกเหตุผลว่า ทำไมเราจึงคิดแบบนั้น   แล้วเราจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆของเรากันค่ะ

เมื่อจบกิจกรรม ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน




วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

The special song is always in my heart

กิจกรรมจิตศึกษา

"The special song is always in my heart"

ขั้นนำ :

นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมอง  หรือ กิจกรรมให้เกิดความสงบมีสมาธิ ให้ร่ายกายและสมองผ่อนคลาย ก่อนเริ่มกิจกรรม


ตัวอย่าง กิจกรรม Brain Gym





ขั้นดำเนินกิจกรรม :

 1.คุณครูพูดคุยกับนักเรียน....ถ้าให้เรานึกถึงเพลงที่เราประทับใจหนึ่งเพลง ให้สมกับที่เป็นเพลง ที่เรา จะให้คอนเซปว่า "The special song that 's always in my heart" เราจะนึกถึงเพลงใด  เราจำเนื้อร้องของเพลงทั้งหมดได้หรือไม่  หรือเราพอจะจำเนื้อร้องท่อนที่ประทับใจได้ไหม แล้วเพลงนี้เป็นเพลงที่พิเศษและสร้างความประทับใจกับเราอย่างไร   ให้เราเขียนบันทึกบอกเล่าเรื่องราว ด้วยการเขียน ชื่อเพลง ชื่อศิลปินหากเราจำได้  และเนื้อร้องท่อนที่เราประทับใจ  ทำไมเพลงนี้จึงเข้ามาอยู่ในหัวใจของเรา





2. ครูอาจจะเริ่มด้วยการ พูดคุยถึงเพลงที่ครูประทับใจ  ชื่อเพลงนั้น และ เนื้อร้องท่อนที่ครูประทับใจ ครูบอกความรู้สึก และเหตุผลว่า ทำไมครูจึงชอบเพลงนี้   หลังจากนั้น ให้นักเรียนของเรา ได้บอกเล่าเรื่องราว เพลงที่เขาประทับใจ  ด้วยการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงสนทนา

เมื่อจบกิจกรรม ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน


วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Who am I?


กิจกรรมจิตศึกษา 
เรื่อง  Who am I ?


เป้าหมาย  เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และเชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ 



ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรมสร้างสมาธิ เช่น การรับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก การหายใจเข้าลึกท้องขยาย หายใจออกท้องแฟบ ประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ร่ายกายและสมองผ่อนคลาย ก่อนเริ่มกิจกรรม


ขั้นดำเนินกิจกรรม :
 1.คุณครูพูดคุยกับนักเรียน.... นักเรียนคิดว่านักเรียนจะตอบคำถามที่ว่า ฉันคือใคร? ว่าอย่างไร  ให้เราลองนึกหาคำตอบในใจ แล้วเขียนบันทึกคำตอบนั้น (ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที)

2. ครูเปิดคลิป Power of Ten - ความยาวประมาณ 5 นาที (ก่อนเปิดคลิป ครูอาจพูดคุยเรื่องของตัวเรากับโลก ตัวเรากับจักรวาลนี้ นักเรียนคิดว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างไร)




3. ครูถามคำถามกับนักเรียนว่า... เมื่อเราดูจบแล้ว เราเห็นอะไรในคลิปบ้าง  คลิปนี้ทำให้เรารู้สึกและคิดอย่างไร?  ทำไมเราจึงรู้สึกและคิดแบบนั้น ? คลิปนี้ทำให้เรานึกถึงเรื่องใดในชีวิตของเรา? เพราะเหตุใด?     ให้เราเขียนบันทึกคำตอบของเรา.....หลังจากนั้น เราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดและความรู้สึกนี้ กับเพื่อนๆของเรา (ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที)

เมื่อจบกิจกรรม ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Questions for myself


กิจกรรมจิตศึกษา เรื่อง  Questions for myself



ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมอง/สมาธิให้ร่ายกายและสมองผ่อนคลาย ก่อนเริ่มกิจกรรม

ตัวอย่าง กิจกรรม Brain Gym





ขั้นดำเนินกิจกรรม :
 1.คุณครูพูดคุยกับนักเรียน.......เราเคยตั้งคำถาม ถามตัวเองหรือไม่  พอจะนึกออกไหมคำถามนั้นถามว่าอย่างไร แล้วเราเคยหาคำตอบหรือไม่.....บางคนอาจจะเคย บางคนอาจจะไม่เคย.....กิจกรรมเช้านี้เราจะมาฝึกตั้งคำถามเพื่อถามตัวเราเอง พร้อมกับกับคำถามที่เราถามตัวเองกันค่ะ

2. ครูเริ่มด้วยการให้ คำเริ่มต้นของคำถาม แล้วให้นักเรียนคิดคำถามต่อ.....เพื่อถามเรื่องใดก็ได้จากตัวเอง










3. เมื่อเราตั้งคำถามและตอบคำถามของเราแล้ว เราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆของเราเมื่อจบกิจกรรม ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน