วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กิจกรรม “ตาราง...จัดการชีวิต”



กิจกรรม จิตศึกษา เรื่อง "ตาราง....จัดการชีวิต"


ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม (กิจกรรม Brain Gym 1 กิจกรรม ที่ครูแต่ละท่านเตรียมมา)
2.ครูถามคำถามให้นักเรียนตอบในใจให้เวลานักเรียนได้คิด...เราเคยพบเจอกับคำถามและความรู้สึกเหล่านี้หรือไม่...ในหนึ่งวันน่าจะมีมากกว่า 24 ชั่วโมง...รู้สึกว่าวันๆทำอะไรไม่ทันเลย...ทำไมอ่านหนังสือไม่จบเรื่องสักที? เวลาทำแบบฝึกหัดทำไมไม่พอ? ทำไมทำงานไม่ทัน? ทำไมไม่มีเวลาทำในสิ่งที่ชอบ? ทำไมไม่มีเวลาทำการบ้าน? ไม่มีเวลาออกกำลังกาย? ทำไมกิจกรรมที่สำคัญมากและเร่งด่วนมากเราจึงไม่ทำไม่สนใจและเพิกเฉย?...เราไปให้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ไม่จำเป็นมากเกินไปหรือไม่?....จนทำให้เราพลาดโอกาสบางอย่างไป....ให้ลองคิดทบทวนถึงเหตุการณ์ต่างๆเหล่านั้น...เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?...ทบทวนและหาคำตอบในใจของเราเอง...

ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที

1.ครูชี้แจงขั้นตอนของกิจกรรม "ตาราง...จัดการชีวิต" ตามรายละเอียดด้านล่าง ให้ชัดเจน    อาจจะให้นักเรียนเขียนเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่ตนจะต้องทำ และทำอยู่เป็นประจำ ทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญเป็นข้อๆ ก่อนก็ได้ หลังจากนั้น ก็โดยให้นักเรียนเขียนกิจกรรมของนักเรียนลงในช่องตารางทั้งสี่ช่องตามขั้นตอนการลงกิจกรรมตามช่องทั้งสี่ 

2. นักเรียนบันทึก/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  : หลังจากทำกิจกรรมนี้ นักเรียนรู้สึกอย่างไร  และได้อะไรจากกิจกรรมนี้ ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวงสนทนา

เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน/การจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนเริ่มต้น   ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน

-------------------------------

“ตาราง…จัดการชีวิต”

จากหนังสือ The Seven Habits of Highly Effective People

4 Quadrants

หยิบกระดาษขึ้นมา วาดรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเกือบเต็มพื้นที่กระดาษ แบ่งสี่เหลี่ยมนั้นออกเป็นตารางสี่ช่อง แล้วเขียนคำว่า Important / Not Important  และ Urgent / Not Urgent กำกับ  เสร็จแล้วให้ตั้งชื่อแต่ละช่องว่า Q1, Q2, Q3, Q4

Quadrants_Blank
สตีเฟ่น โควี่ย์ (Stephen R. Covey) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้กล่าวไว้ว่า กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตคนเราแบ่งออกได้สี่แบบ

Q1 คือ กิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วน (Urgent  and Important) เช่น ป่วยหนัก จ่ายบัตรเครดิต หรือเตรียมเอกสารสำหรับประชุมด่วนกับประธานบริษัท
ถ้าเป็นนักเรียน ก็อาจจะเป็น  รายงานวิชา   สอบวิชา   สอบกลางภาค  สอบปลายภาค  เลือกคณะ  เลือกมหาวิทยาลัย  แก้เกรด 0 ร มส   
Q2 คือ กิจกรรมที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน (Important but Not Urgent) เช่น ออกกำลังกาย ออมเงิน พัฒนาคนในทีม
ถ้าเป็นนักเรียน ก็อาจจจะเป็น   อ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย   อ่านหนังสือสอบปลายภาค  ซ้อมกีฬา  เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
Q3 คือ กิจกรรมที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (Urgent but Not Important) เช่น ดูหนังที่กำลังจะออกโรง  ดูละครออนแอร์   โทรหาแฟน  โทรหาเพื่อน  ไป shopping ช่วงลดกระหน่ำต่ำกว่าทุน
Q4 คือ กิจกรรมที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน (Not Urgent and Not Important) เช่น เล่นเฟซบุ๊ค ตอบไลน์ เมาท์มอย  ขี่รถเล่น  ขับรถเล่น ไปเที่ยวบ้านเพื่อนหอเพื่อน

พอใส่เป็นตาราง ก็จะได้ประมาณนี้Quadrants_FilledIn
  • Q1 คือสำคัญและเร่งด่วน
  • Q2 คือสำคัญและไม่เร่งด่วน
  • Q3 คือไม่สำคัญแต่เร่งด่วน
  • Q4 คือไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน
กิจกรรมเดียวกัน คนหนึ่งอาจจะมองว่าอยู่ Q2 ขณะที่อีกคนอาจจะมองว่าอยู่ Q4 ก็ได้ เช่น การหยุดยาว บางคนมองว่าไม่ได้สำคัญมากนัก (Q4) ขณะที่บางคนวางแผนล่วงหน้าเป็นปีๆ เลยว่าจะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง (Q2)
หรือผู้หญิงอาจจะมองว่าการไปช็อปปิ้งช่วงแกรนด์เซลส์เป็น Q1 ขณะที่ผู้ชายมองว่าเป็น Q4
ไม่มีอะไรผิด อะไรถูก แล้วแต่ว่าเราจะให้ค่ากับอะไร


ถ้าคุณอยากจะประสบความสำเร็จในชีวิต จงให้เวลากับกิจกรรม Q2 ให้มากที่สุด
เหตุผลที่เราควรจะโฟกัสกับกิจกรรม Q2 หรือสิ่งที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วนนั้นมีอยู่ 4 ข้อด้วยกันครับ
  1. Q2 ช่วยป้องกันให้ไม่เกิด Q1 โดยส่วนใหญ่แล้ว Q1 จะเกิดขึ้นเพราะเราละเลย Q2  เช่นถ้าเราออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ (เป็น Q2 หมดเลย)  โอกาสที่จะป่วยหนักนั้นจะน้อยมาก   หรือบางอย่างมันเคยเป็น Q2 มาก่อน แต่ก็กลายเป็น Q1 เช่นถ้าเราได้บิลบัตรเครดิตแล้วไปจ่ายเสียแต่เนิ่นๆ ก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเรารอจนถึงวันที่มันที่ต้องจ่ายแล้ว มันจะกลายเป็น Q1 ทันที
  2. กิจกรรม Q2 ให้ผลตอบแทนดีที่สุด (Highest return on investment) ถ้าเจ้านายสั่งให้คุณทำรายงานที่สำคัญมากๆ โดยให้เวลาคุณหนึ่งเดือน แต่คุณทำเสร็จภายในสองสัปดาห์ คุณจะโดดเด่นขึ้นมาทันที แต่ถ้าคุณชะล่าใจรอจนสัปดาห์สุดท้าย คุณก็ต้องมานั่งปั่นงาน ถ้าเสร็จทันเวลาก็เสมอตัว แต่ถ้าเสร็จช้าก็จะโดนเจ้านายเขม่น นั่นคืองาน Q1 นั้น อย่างมากก็ได้แค่เสมอตัว แต่ถ้าคุณเอาเวลาไปทำเรื่อง Q2 เช่นเรียนพิเศษภาษาอังกฤษ และฝึกด้วยการพูดตามหนังฝรั่งบ่อยๆ  ภาษาอังกฤษที่ดีขึ้นของคุณจะช่วยเปิดโอกาสให้คุณอีกมากมายในอนาคต  ส่วน Q3 และ Q4 นั้น ผลตอบแทนน้อยมากหรือไม่มีเลย เพราะว่ามันไม่สำคัญ
  3. กิจกรรม Q2 นั้นให้อิสรภาพกับคุณ หมายความว่า คุณมีสิทธิ์ที่จะกำหนดได้ว่าจะทำ Q2 เมื่อไหร่ ในขณะที่ Q1 นั้นไม่ให้สิทธิ์คุณเลือกเลย เพราะคุณโดนบังคับกลายๆ อยู่แล้วว่ามันต้องทำให้เสร็จ หากคุณมีกิจกรรม Q2 เยอะๆ  Q1 น้อยๆ ก็ย่อมจะไม่เครียดเพราะว่าเราจะรู้สึกว่าเราคอนโทรลชีวิตได้
  4. กิจกรรม Q2 นั้นจะทำให้ Q3 และ Q4 ลดลง เพราะหนึ่งวันมีแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าเราใช้เวลาไปกับ Q1 และ Q2 (ซึ่งสำคัญทั้งคู่) ให้มาก เราก็จะมีเวลาให้ Q3 กับ Q4 น้อยลงไปโดยปริยาย


ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกิจกรรม Q2 ในที่ทำงาน
  • นัดคุยกับหัวหน้าเพื่อให้ฟีดแบ็คเกี่ยวกับงานของเรา (เช่นหัวหน้าให้งานเยอะเกินไป หรือให้งานที่ไม่ตรงกับจริตและทักษะ)
  • จัดเวลาสัปดาห์ละหนึ่งชั่วโมงเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในด้านที่เราสนใจ
  • เก็บโต๊ะให้เรียบร้อย
  • ทำความสะอาดเมล์บ๊อกซ์ (ไม่ให้เหลือเมล์ที่ยังไม่ได้อ่าน)
  • วางแผนว่าสัปดาห์นี้ควรจะทำงานอะไรให้เสร็จบ้าง
  • คิดโปรเจ็คที่จะมีผลบวกกับทีมในระยะยาว
ส่วนกิจกรรม Q2 ที่ไม่เกี่ยวกับงานก็เช่น
  • เลิกเล่นมือถือหลังสี่ทุ่ม
  • ฝึกสวดมนต์/ นั่งสมาธิ
  • ชวนแฟน / เพื่อน ไปเที่ยวญี่ปุ่น
  • ขอโทษแม่ที่วันก่อนพูดจาไม่ดีกับท่าน
  • โทร.หาเพื่อนเก่า
  • ทำความรู้จักกับคนที่เราชื่นชม
  • ทำอะไรซักอย่างกับความฝันที่เราผัดวันประกันพรุ่งมานาน


การที่เราต้องโฟกัสที่ Q2 นั้นเพราะว่าถ้าเราไม่ให้ความสนใจกับมัน  Q2 จะโดน Q1 กับ Q4 กลืนกิน
ระหว่างวันเราต้องวิ่งวุ่นกับ Q1 พอหมดวัน เลยรู้สึกว่าต้องให้รางวัลกับตัวเองด้วยการทำกิจกรรม Q4 รู้ตัวอีกทีก็ดึกแล้ว เราจึงไม่ได้ทำ Q2 เลย ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่ามันมีความหมายกับชีวิตเราแค่ไหน แต่เราไม่มีเวลาและไม่มีพลังเหลือแล้ว


ให้เวลากับ Q2 แค่วันละ 5 นาทีก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
เมื่อเราทำ Q2 ติดจนเป็นนิสัย เราก็จะมีชีวิตที่มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่แน่ว่า วันหนึ่งตาราง 4 Quadrants ของเราอาจจะหน้าตาเป็นอย่างนี้ก็ได้
Quadrants_Q2Focus
นั่นคือ คุณจะได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับสิ่งมีความหมายกับคุณจริงๆ โดยไม่มีใครมาบังคับและไม่มีเงื่อนไขด้านเวลา ถ้าทำได้คงเจ๋งไปเลยเนอะ!


แหล่งข้อมูลจาก  https://anontawong.com/2015/01/13/4quadrants-matrix/

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กิจกรรม เรื่อง "ก็แค่..ฝากซื้อ"

กิจกรรม จิตศึกษา เรื่อง "ก็แค่... ฝากซื้อ"


ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม (กิจกรรม Brain Gym 1 กิจกรรม ที่ครูแต่ละท่านเตรียมมาแล้ว)
2.ครูถามคำถามให้นักเรียนตอบในใจให้เวลานักเรียนได้คิดสัก 2-3 นาที  "นักเรียนเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการรอคอย...เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ เช่น การเข้าคิวซื้ออาหาร  ขนม  ตั๋วชมภาพยนตร์ ชมดนตรี  การจองคิวเข้าใช้บริการร้านอาหาร  ธนาคาร การซื้อของในร้านต่างๆ  หรือแม้แต่การต่อแถวเข้าใช้บริการห้องน้ำ   ...มีเหตุการณ์ใดบ้างที่สร้างความประทับใจ และ ไม่ประทับใจ ให้กับนักเรียน/คนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น"








ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที

1. ครูเปิดคลิป ( 8 นาที)   คลิปภาพยนตร์สั้น เรื่อง โดนัท (ให้นักเรียนชมคลิปจนจบ ภาพยนตร์ในคลิป ช่วงเวลา 1 - 9.57 นาที แต่ยังไม่ให้ดูสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปนี้ เพื่อให้นักเรียนได้ใคร่ควรด้วยตนเองโดยการจัดบันทึก/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพือนๆ ก่อน) สามารถดาวน์โหลดลงสื่อบันทึกข้อมูลได้ที่นี่ >> สื่อจิตศึกษา ก็แค่..ฝากซื้อ

2. นักเรียนบันทึก/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  : นักเรียนเห็นอะไรบ้าง  นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อคลิปนี้ /  นักเรียนเคยมีประสบการณ์คล้ายๆ กับเรื่องราวในคลิปนี้หรือไม่  เหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร   ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวงสนทนา


เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน/การจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนเริ่มต้น   ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน


------------------------------------------------------------

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กิจกรรม นิทานภาพ เรื่อง "Tuesday"...

กิจกรรมจิตศึกษา  นิทานภาพ เรื่อง "Tuesday"

ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมองก่อนเริ่มกิจกรรม 

ขั้นดำเนินกิจกรรม :
1.ครูถามนักเรียนว่า...พอจะจำได้ไหม นิทานเรื่องสุดท้ายที่เราอ่าน/ฟัง/ดู  ชื่อ เรื่องอะไร...ครูเชื่อว่าทุกคนมีนิทานที่เราประทับใจอย่างน้อยก็คนละ 1 เรื่อง  และเมื่อใดก็ตามที่เราได้กลับไปอ่าน หรือ ได้นึกถึงก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้กลับไปย้อนอดีต และ นึกถึงเรื่องราวต่างๆ ที่สุดแสนประทับใจอีกครั้ง เช้าวันนี้ครูมีนิทานเรืองหนึ่ง มาให้พวกเราได้ดูไปพร้อมกันๆค่ะ

2. ครูเปิด หนังสือนิทานเรื่อง "Tuesday"  จาก presentation ที่เตรียมไว้ให้
 สามารถ ดาวน์โหลดในรูปแบบไฟล์นำเสนอได้ที่นี่ค่ะ>>> นิทาน TuseDay


3. มีคำถาม 3 คำถาม ที่ เราจะถามตัวเองในใจ 
    - นักเรียนเห็นอะไรบ้าง  รู้สึกอย่างไร  และ นิทานเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงเหตุการณ์ใด  

4. เราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการให้ทุกคนได้แชร์คำตอบนั้นให้เพิื่อนๆ ฟังค่ะ

เมื่อจบกิจกรรม ครูก็จะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน




































วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

กิจกรรม "รู้จักฉัน รู้จักเธอ"


กิจกรรมจิตศึกษา  "รู้จักฉัน รู้จักเธอ"

ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงเป็นวงกลม
2.ครูถามคำถามให้นักเรียนตอบในใจให้เวลานักเรียนได้คิดสัก 2-3 นาที  "เราเคยสังเกตไหม ว่า ทำไมเพื่อนในห้องแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่แตกต่างกัน  แม้แต่เพื่อนที่เราคิดว่าสนิทกับเรามากที่สุดก็ยังมีเรืืองราวบางเรื่องที่ทำให้เราต้องขัดแย้งกัน นักเรียนคิดว่ามาจากสาเหตุใด"   (ครูอาจให้นักเรียนได้นั่งสมาธิ หลับตา สัก 1-2 นาที โดยดูลมหายใจของตนเองที่ปลายจมูก เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิเกิดความสงบและรู้ตัวก่อนการถามคำถาม)























ครูสามารถ Down Load สไลด์ ได้ที่  Know me Know you Slide
ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที

1. ครูให้นักเรียน ดู slide   พฤติกรรม 4 แบบ ที่นักเรียนคิดว่าตรงกับตัวเองมากที่สุด 1 แบบ  แล้วมีเหตุการณ์ใดหรือไม่ที่ทำให้เราคิดว่า เรามีพฤติกรรมเป็นแบบนัั้น บันทึกลงกระดาษที่ครูแจกให้  
2. ครูแสดง slide ของพฤติกรรม 4 แบบ ที่ตรงกับ ผู้นำสี่ทิศ  แล้วนักเรียนเลือกแบบผู้นำที่ตรงกับตัวนักเรียนมากที่สุด 1 ทิศ  แล้วมีเหตุการณ์ใดหรือไม่ที่ทำให้เราคิดว่า เรามีพฤติกรรมเป็นแบบ ผู้นำทิศนั้น บันทึกลงกระดาษที่ครูแจกให้

2. นักเรียนบันทึก/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  : นักเรียนเห็นอะไรบ้าง   รู้สึกอย่างไร  แล้วนักเรียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับ  การทำงานกลุ่ม  การคบเพื่อน  การแสดงออก หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียนเอง ที่เป็นสาเหตุมาจากความคิดที่แตกต่างของตัวบุคคล   ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวงสนทนา

เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน/การจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนเริ่มต้น   ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน