วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม จิตศึกษา เรื่อง "A Therapy Office"


เรื่อง   "A Therapy Office"

ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม ฺBody Scan ผ่อนคลายสมองก่อนเริ่มกิจกรรม

ขั้นดำเนินกิจกรรม :
1.ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด...เช่น  เมื่อเราเจอปัญหา ไม่ว่าจะหนักหรือเบา สิ่งแรกที่เราจะทำคือ??  คนแรกที่นักเรียนจะปรึกษาปัญหาด้วยเป็นใคร??  แล้วทุกครั้งที่ปรึกษาแล้วจะได้รับคำตอบแบบใดบ้าง??  ปัญหาได้คลี่คลายไปบ้างหหรือไม่??  วันนี้ครูมีคลิปเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่ง...เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาของหลายๆคนอย่างไร...เราจะมาติดตามเรื่องราวของเขากันนะคะ

คุูณครูอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ :  จิ๋วแต่แจ๋ว เด็ก 11 ขวบที่ปรึกษาด้านอารมณ์


2. ครูเปิดคลิป  This amazing kid has turned the subway platform into a therapy office
คุณครูดาวน์โหลดได้ที่ Drive : ดาวน์โหลดไฟล์ ด.ช. Ciro Ortiz  (No Sub Thai)

ไคโรยังเผยว่า เคยมีคนที่กำลังสับสนในชีวิตมาหาเขา ซึ่งเขาก็แนะนำให้คนเหล่านั้นมองปัญหาอย่างเรียบง่าย มองหาคำตอบว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นต่อพวกเขา ซึ่งเมื่อทำได้เช่นนั้นการค้นหาคำตอบก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น ยังมีบางคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เขาก็เลยบอกว่าเราควรจะยอมรับในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะชีวิตของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 


หลังจากคลิปจบ....แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน....นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับเรื่องราวของ Ciro...สีหน้าแววตาท่าทางของ Ciro ในขณะให้คำปรึกษาแสดงออกอย่างไร...นักเรียนเคยมีประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาแบบ Ciro หรือไม่...นักเรียนคิดว่าเขาจะใช้คำพูดอย่างไรบ้าง....นักเรียนอยากจะลองปรึกษาปัญหาด้านอารมณ์ กับ Ciro Ortiz หรือไม่เพราะเหตุใด...นักเรียนคิดว่าหากนักเรียนเป็นที่ปรึกษาให้ใครสักคน นักเรียนคิดว่าตนเองจะเป็นที่ปรึกษาด้านใดได้ดีที่สุดเพราะเหตุใด  คำพูดที่นักเรียนจะบอกเขา...ให้เขามีกำลังใจให้เขาสามารถผ่านปัญหานั้นไปได้ได้แก่คำพูดใดบ้าง  บอกเล่าให้เพื่อนๆ ฟังกันคะ  (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในวงสนทนา)


วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

นิทาน เรื่อง "เต่า...ภูมิใจ"

กิจกรรมจิตศึกษา  นิทาน เรื่อง "เต่า...ภูมิใจ"





ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมองก่อนเริ่มกิจกรรม

ขั้นดำเนินกิจกรรม :
1.ครูถามนักเรียนว่า...พอจะจำได้ไหม นิทานเรื่องสุดท้ายที่เราอ่าน/ฟัง/ดู  ชื่อ เรื่องอะไร...หากยังพอจำได้นิทานเรื่องล่าสุดที่เราได้อ่านด้วยกันที่นี่ คือ เรื่อง Tuesday เป็นเรื่องของ กบ กบ ลอยออกจากบึงไปท่องเที่ยวที่ต่างๆ... และเช้าวันนี้ครูมีนิทานอีกเรืองหนึ่งที่น่าประทับใจไม่แพ้กัน... อาจจะฟังดูคล้ายกับนิทานที่เราเคยได้ยินมาตอนเด็กๆ นั่นคือ เรื่อง เต่ากับกระต่าย  เรามาดูและอ่านไปพร้อมๆกันนะคะ...ซึ่งการกลับมาของเต่าครั้งนี้ เต่ากลับมาบอกอะไรกับพวกเรา....

2. ครูเปิด หนังสือนิทานเรื่อง "เต่า...ภูมิใจ"  จากแหล่งข้อมูลที่เตรียมไว้ให้
 สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่ค่ะ>>> presentation นิทาน เต่าภูมิใจ
หรือ  ดาวน์โหลดไฟล์ภาพได้ >>> ภาพนิทาน เต่าภูมิใจ


3. เห็นอะไรในนิทานเรื่องนี้บ้าง ฉากไหนที่ประทับใจ  เรารู้สึกอย่างไร  และ นิทานเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใดบ้างที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา

4. เราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการให้ทุกคนได้แชร์คำตอบนั้นให้เพิื่อนๆ ฟังค่ะ

เมื่อจบกิจกรรม ครูก็จะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน

































วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม เรื่อง แค่ขยะชิ้นเดียว

กิจกรรม จิตศึกษา  หนังสั้น เรื่อง"แค่ขยะชิ้นเดียว"


ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม (กิจกรรม Brain Gym 1 กิจกรรม ที่ครูแต่ละท่านเตรียมมาแล้ว)
2.ครูพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับ....คลิปหนังสั้นต่างๆ ที่มีอยู่ใน Youtube .....ซึ่่งมีคลิปดีๆ อยู่มากมาย ถ้าหากเราได้ดู และ คิด ใคร่ครวญ ตามไปด้วยอย่างมีวิจารณญาณ...เราจะได้แง่คิดดีๆมากมาย... ซึ่งคลิปที่นักเรียนได้ดูไปหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น  ก็แตกต่างกันไปตามเรื่องราวที่ผู้สร้างคลิป/หนังสั้น ต้องการจะนำเสนอแง่คิดในมุมมองต่างๆ....วันนี้ก็เช่นกัน ครูมีคลิปหนังสั้นเรื่องหนึ่ง เราจะดูไปด้วยกัน และเมื่อนักเรียนดูแล้วคิดอย่างไรกันบ้าง....









ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที

1. ครูเปิดคลิป ( 8 นาที)   คลิปภาพยนตร์สั้น เรื่อง

หนังสั้น "ขยะชิ้นเดียว" ผลงานนักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 

หรือ ดาวน์โหลด จากไดร์วได้ที่ : คลิปหนังสั้น ขยะชิ้นเดียว
หรือ ดาวน์โหลดเองได้ จาก www.keepvid.com โดย copy ลิงค์ของยูทูปที่ต้องการดาวน์โหลดในเวบนี้แล้ว ดาวน์โหลดได้ทันที เป็นไฟล์ MP4

2. นักเรียนบันทึก/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  : นักเรียนเห็นอะไรบ้าง   นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อคลิปนี้ /  นักเรียนเคยมีประสบการณ์คล้ายๆ กับเรื่องราวในคลิปนี้หรือไม่  เหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร   ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวงสนทนา


เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน/การจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนเริ่มต้น   ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม "หยิบ วาง ... สร้าง สรรค์"


กิจกรรม จิตศึกษา "หยิบ วาง ... สร้าง สรรค์"





จากใบไม้ กิ่งไม้ ลูกไม้ ที่ร่วงหล่นจากต้นไม้เนื่องจากหมดอายุขัยของมันแล้ว... หลายคนอาจมองว่าไร้ค่า...แต่หากเราเข้าใจสิ่งเหล่านั้น...สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ล้วนมีวงจรชีวิต...เกิดและดับตามวัฏจักร...ใบไม้แห้ง กิ่งไม้แห้ง ลูกไม้ เหล่านี้ สามารถนำมาสร้างเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจได้มากมาย...ให้นักเรียนของเราได้ถ่ายทอดความรู้สึกที่ได้จากกิจกรรม...พวกเขาได้คิด สร้างสรรค์ ได้แสดงความรู้สึก ทำให้เราเข้าใจ..ผู้คนรอบข้าง และ สนใจ ธรรมชาติรอบตัวเรามากขึ้น

คุณครูอาจจะใช้ใบไม้ อย่างเดียว หรือ วัสดุต่างๆ ที่สามารถนำมาแทน วัสดในภาพ และสามารถปรับกิจกรรมให้เข้ากับห้องเรียนของท่าน

ขั้นนำ : (5 นาที)
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม จับมือกัน นั่งหลับตา ให้นักเรียนสงบนิ่ง ประมาณ 1 นาที หรือ ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมองก่อนเริ่มกิจกรรม


ขั้นดำเนินกิจกรรม : (20 นาที)
นักเรียนแต่ละหยิบ ใบไม้ กิ่งไม้ ลูกไม้ที่วางกองอยู่รวมกัน นำไปวางบนกรอบภาพที่เป็นกระดาษแผ่นใหญ่ที่กลางวง วางได้คนละไม่เกิน 3 ครั้ง คนต่อไปมาหยิบและวางต่อ จัดวางของที่เพื่อนวางก่อนหน้าได้ แต่ห้ามหยิบออก...วนกันไปเรื่อยๆ จนครบวง เพื่อ สร้างเป็นภาพ 1 ภาพ

"เราได้อะไรจากกิจกรรมนี้/เรารู้สึกอย่างไร" แบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อจบกิจกรรม ครูก็จะกล่าวขอบคุณทุกความคิดเห็น และ ทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน
-----------------------------
เสียงสะท้อนจากนักเรียน "เราได้อะไรจากกิจกรรมนี้/เรารู้สึกอย่างไร" 
- เราทุกคนล้วนมีความคิดเป็นของตัวเอง จะให้เหมือนกันทุกเรื่องคงเป็นไม่ได้
- ดีใจที่ได้สร้างสรรค์ผลงานกับเพื่อนๆ
- มีความสุข และรู้สึกผ่อนคลาย
- การยอมรับความคิดเห็นของเพื่อน
- ความไว้วางใจต่อเพื่อนๆ
- ได้ใช้ความคิด การวางแผน คิดสร้างสรรค์ และ จินตนาการ
- รักและผูกพันเพื่อนมากขึ้น
- อยากออกไปสัมผัสธรรมชาติมากขึ้น
- ลุ้นและอยากเห็นภาพสุดท้าย
- อยากทำกิจกรรมแบบนี้อีก เพราะรู้สึกดีมาก










วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม เรื่อง "ฉันจะคว้า...ดาว"

กิจกรรมจิตศึกษา   เรื่อง "ฉันจะคว้า...ดาว"


จากนิทาน เรื่อง เด็กชายกับดวงดาว




ขั้นนำ :
นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ใช้กิจกรรม Brain Gym ปลุกสมองก่อนเริ่มกิจกรรม 

ขั้นดำเนินกิจกรรม :
1.ครูถามนักเรียน หรือ พูดคุยเรื่องความฝัน  เช่น  เมื่อคืนนี้ ใครฝันบ้างเอ่ย  ถ้าจำความฝันได้  ใครคิดว่าตัวเองฝันดี   ใครคิดว่าตัวเองฝันร้าย หรือใครจำความฝันของตัวเองไม่ได้บ้าง... แต่สำหรับครู ครูก็ฝันบ่อยนะ โดยเฉพาะเวลาอยากได้อะไร ใจเราก็จะคิดถึงเรื่องนั้นจนเก็บไปฝ้นกันเลยทีเดียว...    เช้าวันนี้ครูมีนิทานเรืองหนึ่ง ที่เกี่ยวกับเรื่อง ความฝัน มาเล่าให้ฟังนะคะ ....มาพวกเรามาอ่านและดูไปพร้อมกันๆค่ะ 

2. ครูเปิด หนังสือนิทานเรื่อง "เด็กชายกับดวงดาว"  ดาวน์โหลดได้ 2 รูปแบบ ค่ะ
  - รูปแบบ ของไสล์ ดาวน์โหลดเป็นไฟล์ PPT ได้ทันทีที่ลิงค์ นิทานเด็กชายกับดวงดาว
  - รูปแบบไฟล์ ่jpg ภาพเรียงตามหมายเลข ตั้งแต่ ไฟล์ชื่อ boyandstar00 -boyandstar0 - boyandstar1 จนถึง boyandstar24  ตามลำดับค่ะ   ลิงค์ที่นี่ค่ะ>>> นิทาน เด็กชายกับดวงดาว 


3. มีคำถามที่เราจะถามตัวเองหลังจากเราอ่าน นิทานเรื่องนี้จบ...
    - นักเรียนเห็นอะไรจากนิทานเรื่องนี้บ้าง และนักเรียนจะให้คำจำกัดความของคำสำคัญในนิทานที่ได้พูดถึงในแบบที่เธอเข้าใจว่าอย่างไร?? ได้แก่ คำว่า ดวงดาว ความคุ้นชิน ภูเขา ดอกไม้ ขวากหนาม พระราชา .... เขียนบันทึก 

4. เราจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการให้ทุกคนได้แชร์คำตอบนั้นให้เพิื่อนๆ ฟังค่ะ

เมื่อจบกิจกรรม ครูก็จะกล่าวขอบคุณทุกความรู้สึกของนักเรียน นักเรียนกล่าวขอบคุณซึ่งกันและกัน

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม "สะดวกใช้..แต่สุดท้าย คือ ภาระ"

กิจกรรม จิตศึกษา เรื่อง "สะดวกใช้....แต่สุดท้าย คือ ภาระ"


ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม (กิจกรรม Brain Gym 1 กิจกรรม ที่ครูแต่ละท่านเตรียมมาแล้ว)
2.ครู ให้นักเรียนดูภาพเหล่านี้ แล้วถามคำถามว่า   นักเรียนเห็นภาพต่างๆ เหล่านี้ แล้วรู้สึกอย่างไร อาจจะให้นักเรียนเล่าให้เพื่อนๆในวง  4-5 คน (ตามความสมัครใจ)








ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที






1.ครูเปิดคลิป เครื่องเก็บขยะในทะเล (YouTube)   หรือสามารถดาวน์โหลดคลิปจาก Drive https://drive.google.com/file/d/0B4GiqPxSnAtoUE1xNkk3NWpmTmc/view?usp=sharing
และ ดาวน์โหลดภาพจาก Drive : https://drive.google.com/drive/folders/0B4GiqPxSnAtobWx0V2kyZmhtNXM?usp=sharing

2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : หลังจากดูคลิปนี้ นักเรียนเห็นอะไรบ้าง?  รู้สึกอย่างไร?  นักเรียนคิดว่านักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง?? เพื่อร่วมรับผิดชอบกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้พลาสติก  
จดบันทึก / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวงสนทนา

เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน/การจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนเริ่มต้น   ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน


------------------------------

แนวคิดสำหรับคุณครู : กิจกรรม เรื่อง "สะดวกใช้..แต่สุดท้าย คือ ภาระ"

ครูอาจจะแสดงให้เห็นภาพของ การย่อยสลายของพลาสติกแต่ละประเภท ให้นักเรียนได้เห็นถึงการใช้พลาสติก 1 ชิ้น เพียงเวลาไม่กี่นาที แต่ถ้าเป็นขยะแล้วทิ้งจะใช้เวลานานมากในการย่อยสลาย     และเราทุกคนก็มีส่วนทำให้มีการผลิตพลาสติกออกมาใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ...เราจะทำอย่างไรต่อไป?? ถ้าเรารู้แล้วว่าหากยังไม่ลดการใช้พลาสติกจะเกิดความเสียหายต่อโลกของเราไปเรื่อยๆ





วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"

 "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"

ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม (กิจกรรม Brain Gym 1 กิจกรรม  หรือ  นั่งสมาธิ เพื่อให้อยู่ในโหมดสติและรู้ตัวประมาณ 2 นาที)
2.คุณครูเริ่มต้นบทสนทนา...ถามคำถามเพื่อเป็นการเริ่มต้นในการทำกิจกรรม จิตศึกษา เรื่อง "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"  ให้นักเรียนได้เริ่มคิดหาคำตอบและค้นหาตัวเองในใจก่อน   โดยอาจจะเป็นคำถามต่อไปนี้...นักเรียนเคยถามตัวเองหรือไม่ว่า ส่ิงที่ตนเองชอบมากที่สุดคืออะไร??  และ สิ่งที่ตนเองถนัดมากที่สุด คือ เรื่องใด??  บางคนอาจจะรู้แล้วว่า เราชอบและถนัดสิ่งใด  แต่บางคนอาจจะยังไม่เคยรู้...นั่นก็อาจเป็นเพราะไม่เคยตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเอง...

ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที

1. ครูเล่าเรื่อง  หมาป่ากับเม่น





หมาป่า เป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาด หมาป่าผู้หิวโหยคิดหาวิธีจับ เม่น เป็นอาหารทุกวัน บางวันมันก็ดมกลิ่นเม่นแล้วดักรออยู่ในพุ่มไม้ตรงที่เม่นเดินผ่านไปมาบ่อยๆบางวันมันก็ปีนขึ้นไปบนต้นไม้แล้วกระโดดลงมาตะครุบเม่นหรือขุดบ่อลึกและนำกิ่งไม้มาปิดไว้ บางวันมันก็นอนแกล้งตายอยู่ข้างทาง  เม่นเป็นสัตว์ที่โง่เขลาตรงข้ามกับหมาป่าที่เฉลียวฉลาด มันไม่ใช้สมองคิดอะไรมากและทำอะไรแบบเดิมๆตลอดเพราะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่หมาป่าเจ้าเล่ห์กับเม่นจอมทึ่มต่อสู้กัน เม่นก็มักจะเป็นฝ่ายชนะเสมอ  หมาป่าวางแผนแยบยลต่างๆนานา เพื่อจะจับเม่นกินให้ได้แต่แผนการของเม่นกลับมีแค่อย่างเดียว คือ ขดตัวให้กลมแล้วตั้งหนาม ขึ้น เม่นใช้วิธีที่ตัวเองถนัดที่สุดในการไล่หมาป่าไป  หมาป่ารู้อะไรมากมาย  แต่เม่นกลับรู้สิ่งสำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียว


       สิ่งที่เม่นรู้เพียงเรื่องเดียวนั้นคือเรื่องอะไร? และ นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับเรืองเล่านี้?   หลังจากที่ได้ฟังเรื่อง หมาป่ากับเม่น  บันทึกลงกระดาษ / สมุด

2. เขียน   สิ่่งที่ฉันชอบและสิ่งที่ฉันไม่ชอบ ลงในตาราง


    เขียน  สิ่งที่ฉันถนัดและส่ิ่งที่ฉันไม่ถนัด ลงในตาราง

3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : หลังจากทำกิจกรรมนี้ นักเรียนรู้สึกอย่างไร?  และได้อะไรจากกิจกรรมนี้? ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวงสนทนา

เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน/การจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนเริ่มต้น   ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน


-----------------------------------


แนวคิดสำหรับคุณครู : เพื่อการกิจกรรม เรื่อง "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"


ลองนึกถึง คุ้กกี้ชิ้นหนึ่งที่วางอยู่รวมกันในจาน
10610_icebox_sugar_cookies.jpg
ถ้าความสามารถของคนทุกคนก็เหมือนคุกกี้ชิ้นนี้กันหมดทุกคนคงจะไม่มีเอกลักษณ์และไม่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงได้แน่ จากนั้นลองหักกคุกกี้ส่วนหนึ่งออกและนำเศษ คุ้กกี้นั้นมาต่อกับอีกด้านของคุกกี้จะพบว่า คนเราชอบมองกันแค่เปลือกนอก สมมุติว่าส่วนที่หักออก คือ ข้อเสีย แน่นอนว่าส่วนที่เหลืออยู่ก็คือข้อดี  คนส่วนใหญ่ก็จะมองข้อเสีย ก่อนมองข้อดีแล้วก็จะพยายามเพิ่มเติมข้อเสียกัน  แต่ถ้าหากเราลองทำในสิ่งตรงกันข้าม คือ เลือกเฉพาะส่วนที่เว้าและนำไปเติมให้อีกฝั่งนูนยิ่งขึ้น
ในโลกนี้ย่อมไม่มีใครสมบูรณ์แบบทุกคนต่างมีส่วนที่ขาดกัน คนส่วนใหญ่พยายามเติมเต็มส่วนที่ขาดนั้นแต่พอเติมเต็มส่วนที่ขาดไปแล้วเป็นอย่างไร?   ก็จะเป็นเหมือนคุกกี้กลมๆทั่วไปที่ไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวดูไม่มีอะไรพิเศษไปกว่าคุกกี้ชิ้นอื่นใช่ไหม?   แต่ถ้าเราตกแต่งส่วนที่เว้าและเสริมส่วนที่นูนจะเป็นอย่างไร?  เราก็จะได้คุกกี้รูปหัวใจสวยที่โดดเด่นกว่าคุกกี้ชิ้นอื่นๆนั่นเอง

a7fc774e-f50d-4a29-8fa1-0a27ce75f381.jpg
นี่คือ วิธีที่ทำให้เห็นข้อดีชัดเจนขึ้นมากกว่าจะไปเติมเต็มข้อเสีย  ท้ายที่สุดแล้วที่เราต้องทำ คือ การค้นหาสิ่งที่เราเท่านั้นที่ทำได้ และ รู้ว่าจะนำสิ่งนั้นมาใช้อย่างไร? ฉะนั้นเราถึงต้องรู้ว่าตัวเองเป็นแบบไหน?
เราจะรู้จักตัวเองได้อย่างไรเธอควรตอบคำถาม 2 ข้อนี้ก่อน  ข้อแรกถามตัวเองว่า “อะไร คือ สิ่งที่เราชอบจริงๆ”  และอีกข้อหนึ่งถามตัวเองว่า “อะไร คือ สิ่งที่เราถนัด” การรู้สิ่งที่ชอบและถนัดไม่ใช่เรื่องยากใช่ไหมถ้าเธอสามารถตอบ 2 ข้อนี้ได้ชัดเจนเท่ากับว่าเธอรู้จักและเข้าใจตัวเองเป็นอย่างดี  แล้วคิดว่าตัวเองชอบอะไรและถนัดอะไรมากที่สุดเราก็จะเป็นแบบเจ้าเม่น
หากระดาษมาหนึ่งแผ่นพับขึ้นตามแนวตั้งแล้วตีเส้นให้เหมือนตารางข้างล่างลองเขียน สิ่งที่เราชอบไปฝั่งซ้ายเห็นสิ่งที่เราไม่ชอบไม่นึกออกจากนั้นดูว่าฝั่งไหนมีจำนวนมากกว่ากัน


หลายคนคงเขียนฝั่งขวาได้เยอะกว่าทั้ง 2 ตาราง เรามักจะคิดว่าเรารู้ดีว่าตัวเองถนัดอะไรแต่จริงๆแล้วสิ่งที่เรารู้ดีกลับเป็นสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัดมากกว่า เราไม่ค่อยรู้จุดแข็งของตัวเอง  แต่รู้จุดอ่อนเป็นอย่างดี พูดง่ายๆว่าเรายังไม่รู้จักตัวเองดีพอ นี่จึงเป็นเรื่องยากกว่าที่เราคิด  
ขั้นตอนค้นหาตัวเองก็เหมือนกันเราต้องลองทำสิ่งต่างๆพร้อมกับสังเกตตัวเองก่อนเพื่อบอกว่าตัวเองชอบอะไรและถนัดอะไร? แน่นอนว่าเราต้องถามตัวเองด้วยว่านี่คือสิ่งที่ฉันชอบหรือถนัดหรือเปล่า? ระหว่างที่ลองทำสิ่งต่างๆนั้น  การลองทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราอยากเรียนรู้อะไรให้ลองเข้าหาสิ่งนั้น ถ้าหากว่าทำมานานมากแล้วไม่สนุกหรือความสามารถไม่เพิ่มขึ้นก็ควรเปลี่ยนจะเรียนรู้สิ่งอื่น  เราไม่ควรกลัวความล้มเหลวเพราะอย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่าสิ่งไหนไม่ถนัด  และสิ่งนั้นยังเป็นเหมือนคำใบ้ที่ช่วยบอกให้เราเปลี่ยนไปทำสิ่งอื่นอีกด้วย

ที่มาของแหล่งข้อมูล : หนังสือ "ไม่เป็นไร ถ้าเธอยังไม่มีฝัน"
Park Seung Oh, Kim Young Kwang เขียน