วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรม "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"

 "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"

ขั้นนำ (5 นาที) :

1.นักเรียนและครูนั่งล้อมวงกันเป็นวงกลม (กิจกรรม Brain Gym 1 กิจกรรม  หรือ  นั่งสมาธิ เพื่อให้อยู่ในโหมดสติและรู้ตัวประมาณ 2 นาที)
2.คุณครูเริ่มต้นบทสนทนา...ถามคำถามเพื่อเป็นการเริ่มต้นในการทำกิจกรรม จิตศึกษา เรื่อง "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"  ให้นักเรียนได้เริ่มคิดหาคำตอบและค้นหาตัวเองในใจก่อน   โดยอาจจะเป็นคำถามต่อไปนี้...นักเรียนเคยถามตัวเองหรือไม่ว่า ส่ิงที่ตนเองชอบมากที่สุดคืออะไร??  และ สิ่งที่ตนเองถนัดมากที่สุด คือ เรื่องใด??  บางคนอาจจะรู้แล้วว่า เราชอบและถนัดสิ่งใด  แต่บางคนอาจจะยังไม่เคยรู้...นั่นก็อาจเป็นเพราะไม่เคยตั้งคำถามเหล่านี้กับตัวเอง...

ขั้นดำเนินกิจกรรม : (15 - 20) นาที

1. ครูเล่าเรื่อง  หมาป่ากับเม่น





หมาป่า เป็นสัตว์ที่เฉลียวฉลาด หมาป่าผู้หิวโหยคิดหาวิธีจับ เม่น เป็นอาหารทุกวัน บางวันมันก็ดมกลิ่นเม่นแล้วดักรออยู่ในพุ่มไม้ตรงที่เม่นเดินผ่านไปมาบ่อยๆบางวันมันก็ปีนขึ้นไปบนต้นไม้แล้วกระโดดลงมาตะครุบเม่นหรือขุดบ่อลึกและนำกิ่งไม้มาปิดไว้ บางวันมันก็นอนแกล้งตายอยู่ข้างทาง  เม่นเป็นสัตว์ที่โง่เขลาตรงข้ามกับหมาป่าที่เฉลียวฉลาด มันไม่ใช้สมองคิดอะไรมากและทำอะไรแบบเดิมๆตลอดเพราะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่หมาป่าเจ้าเล่ห์กับเม่นจอมทึ่มต่อสู้กัน เม่นก็มักจะเป็นฝ่ายชนะเสมอ  หมาป่าวางแผนแยบยลต่างๆนานา เพื่อจะจับเม่นกินให้ได้แต่แผนการของเม่นกลับมีแค่อย่างเดียว คือ ขดตัวให้กลมแล้วตั้งหนาม ขึ้น เม่นใช้วิธีที่ตัวเองถนัดที่สุดในการไล่หมาป่าไป  หมาป่ารู้อะไรมากมาย  แต่เม่นกลับรู้สิ่งสำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียว


       สิ่งที่เม่นรู้เพียงเรื่องเดียวนั้นคือเรื่องอะไร? และ นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับเรืองเล่านี้?   หลังจากที่ได้ฟังเรื่อง หมาป่ากับเม่น  บันทึกลงกระดาษ / สมุด

2. เขียน   สิ่่งที่ฉันชอบและสิ่งที่ฉันไม่ชอบ ลงในตาราง


    เขียน  สิ่งที่ฉันถนัดและส่ิ่งที่ฉันไม่ถนัด ลงในตาราง

3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน : หลังจากทำกิจกรรมนี้ นักเรียนรู้สึกอย่างไร?  และได้อะไรจากกิจกรรมนี้? ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันในวงสนทนา

เมื่อนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้สึกและความคิดของตนเองครบทุกคน/การจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนเริ่มต้น   ครูจะกล่าวขอบคุณทุกความคิดและความรู้สึกของนักเรียน


-----------------------------------


แนวคิดสำหรับคุณครู : เพื่อการกิจกรรม เรื่อง "เรารู้จักตัวเอง...ดีพอหรือยัง??"


ลองนึกถึง คุ้กกี้ชิ้นหนึ่งที่วางอยู่รวมกันในจาน
10610_icebox_sugar_cookies.jpg
ถ้าความสามารถของคนทุกคนก็เหมือนคุกกี้ชิ้นนี้กันหมดทุกคนคงจะไม่มีเอกลักษณ์และไม่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงได้แน่ จากนั้นลองหักกคุกกี้ส่วนหนึ่งออกและนำเศษ คุ้กกี้นั้นมาต่อกับอีกด้านของคุกกี้จะพบว่า คนเราชอบมองกันแค่เปลือกนอก สมมุติว่าส่วนที่หักออก คือ ข้อเสีย แน่นอนว่าส่วนที่เหลืออยู่ก็คือข้อดี  คนส่วนใหญ่ก็จะมองข้อเสีย ก่อนมองข้อดีแล้วก็จะพยายามเพิ่มเติมข้อเสียกัน  แต่ถ้าหากเราลองทำในสิ่งตรงกันข้าม คือ เลือกเฉพาะส่วนที่เว้าและนำไปเติมให้อีกฝั่งนูนยิ่งขึ้น
ในโลกนี้ย่อมไม่มีใครสมบูรณ์แบบทุกคนต่างมีส่วนที่ขาดกัน คนส่วนใหญ่พยายามเติมเต็มส่วนที่ขาดนั้นแต่พอเติมเต็มส่วนที่ขาดไปแล้วเป็นอย่างไร?   ก็จะเป็นเหมือนคุกกี้กลมๆทั่วไปที่ไม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวดูไม่มีอะไรพิเศษไปกว่าคุกกี้ชิ้นอื่นใช่ไหม?   แต่ถ้าเราตกแต่งส่วนที่เว้าและเสริมส่วนที่นูนจะเป็นอย่างไร?  เราก็จะได้คุกกี้รูปหัวใจสวยที่โดดเด่นกว่าคุกกี้ชิ้นอื่นๆนั่นเอง

a7fc774e-f50d-4a29-8fa1-0a27ce75f381.jpg
นี่คือ วิธีที่ทำให้เห็นข้อดีชัดเจนขึ้นมากกว่าจะไปเติมเต็มข้อเสีย  ท้ายที่สุดแล้วที่เราต้องทำ คือ การค้นหาสิ่งที่เราเท่านั้นที่ทำได้ และ รู้ว่าจะนำสิ่งนั้นมาใช้อย่างไร? ฉะนั้นเราถึงต้องรู้ว่าตัวเองเป็นแบบไหน?
เราจะรู้จักตัวเองได้อย่างไรเธอควรตอบคำถาม 2 ข้อนี้ก่อน  ข้อแรกถามตัวเองว่า “อะไร คือ สิ่งที่เราชอบจริงๆ”  และอีกข้อหนึ่งถามตัวเองว่า “อะไร คือ สิ่งที่เราถนัด” การรู้สิ่งที่ชอบและถนัดไม่ใช่เรื่องยากใช่ไหมถ้าเธอสามารถตอบ 2 ข้อนี้ได้ชัดเจนเท่ากับว่าเธอรู้จักและเข้าใจตัวเองเป็นอย่างดี  แล้วคิดว่าตัวเองชอบอะไรและถนัดอะไรมากที่สุดเราก็จะเป็นแบบเจ้าเม่น
หากระดาษมาหนึ่งแผ่นพับขึ้นตามแนวตั้งแล้วตีเส้นให้เหมือนตารางข้างล่างลองเขียน สิ่งที่เราชอบไปฝั่งซ้ายเห็นสิ่งที่เราไม่ชอบไม่นึกออกจากนั้นดูว่าฝั่งไหนมีจำนวนมากกว่ากัน


หลายคนคงเขียนฝั่งขวาได้เยอะกว่าทั้ง 2 ตาราง เรามักจะคิดว่าเรารู้ดีว่าตัวเองถนัดอะไรแต่จริงๆแล้วสิ่งที่เรารู้ดีกลับเป็นสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัดมากกว่า เราไม่ค่อยรู้จุดแข็งของตัวเอง  แต่รู้จุดอ่อนเป็นอย่างดี พูดง่ายๆว่าเรายังไม่รู้จักตัวเองดีพอ นี่จึงเป็นเรื่องยากกว่าที่เราคิด  
ขั้นตอนค้นหาตัวเองก็เหมือนกันเราต้องลองทำสิ่งต่างๆพร้อมกับสังเกตตัวเองก่อนเพื่อบอกว่าตัวเองชอบอะไรและถนัดอะไร? แน่นอนว่าเราต้องถามตัวเองด้วยว่านี่คือสิ่งที่ฉันชอบหรือถนัดหรือเปล่า? ระหว่างที่ลองทำสิ่งต่างๆนั้น  การลองทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราอยากเรียนรู้อะไรให้ลองเข้าหาสิ่งนั้น ถ้าหากว่าทำมานานมากแล้วไม่สนุกหรือความสามารถไม่เพิ่มขึ้นก็ควรเปลี่ยนจะเรียนรู้สิ่งอื่น  เราไม่ควรกลัวความล้มเหลวเพราะอย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่าสิ่งไหนไม่ถนัด  และสิ่งนั้นยังเป็นเหมือนคำใบ้ที่ช่วยบอกให้เราเปลี่ยนไปทำสิ่งอื่นอีกด้วย

ที่มาของแหล่งข้อมูล : หนังสือ "ไม่เป็นไร ถ้าเธอยังไม่มีฝัน"
Park Seung Oh, Kim Young Kwang เขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น